ดาวเคราะห์ทั้ง8ของระบบสุริยะ
ดาวพุธ (Mercury)
ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด
เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก และไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นซิลิเกต
(ในทำนองเดียวกับที่แกนของโลกถูกห่อหุ้มด้วยแมนเทิลและเปลือก) ซึ่งหนาเพียง 500 ถึง 600 กิโลเมตร
บางส่วนของแกนอาจจะยังหลอมละลายอยู่
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
จึงปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าไม่ไกลจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์
ดาวพุธมีแกนหมุนที่เกือบตั้งฉากกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองช้ามาก
โดยจะหมุนรอบตัวเองครบ 3
รอบเมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2 รอบ
ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม
ทำให้พื้นผิวดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมาก ตั้งแต่ –183 ถึง 427องศาเซลเซียส
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
(โดยเฉลี่ย) 57.9 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 2439.7 กิโลเมตร (0.383 เท่าของโลก)
มวล 3.3022x1023 kg (0.055
เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 59 วัน
จำนวนดาวบริวาร 0
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ -183 ถึง 427 องศาเซลเซียส
ดาวศุกร์ (Venus)
ดาวศุกร์ (Venus) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่
2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก
จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา โครงสร้างภายในของดาวศุกร์
ประกอบด้วย แกนกลางที่ เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000
กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000
กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต
ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก
ความกดอากาศบนพื้นผิวดาวศุกร์สูงกว่าความกดอากาศบนพื้นผิวโลก 90 เท่าหรือมีค่าเท่ากับความดันที่ใต้ทะเลลึก 1 กิโลเมตร
บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่
และมีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบไปด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กรดกำมะถัน)
ซึ่งมีความหนาหลายกิโลเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวดาวศุกร์ ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไว้
ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง470°C จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ
ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม
ดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวเช่นเดียวกับดวงจันทร์
โดยเราสามารถสังเกตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ดาวศุกร์นั้นมีขนาดใหญ่กว่าและอยู่ใกล้โลกมากกว่าดาวพุธ
เราจึงสังเกตเห็นดาวศุกร์สว่างจ้ากว่าดาวพุธมาก
มีความสว่างเป็นรองจากดวงจันทร์ในยามค่ำคืนเมื่อปรากฏให้เห็นในเวลาใกล้ค่ำเรียกว่า
ดาวประจำเมือง และเรียกว่า ดาวประกายพรึก
เมื่อปรากฏให้เห็นในเวลารุ่งเช้า
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
(โดยเฉลี่ย) 108.2 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 6052 กิโลเมตร (0.9499 เท่าของโลก)
มวล
4.8685x1024 kg (0.815 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 225 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 243 วัน
จำนวนดาวบริวาร 0
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ 464
องศาเซลเซียส
โลก (The Earth)
โลก (The
Earth) เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3
และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5
โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมแป้นมีรัศมีเฉลี่ย 6,371 กิโลเมตร
โครงสร้างภายในของโลกประกอบไปด้วยแก่นชั้นในที่เป็นเหล็ก มีรัศมีประมาณ 1,200 กิโลเมตรห่อหุ้มด้วยแก่นชั้นนอกที่เป็นของเหลว (Liquid) ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล มีความหนาประมาณ 2,200
กิโลเมตร ถัดขึ้นมาเป็นชั้นแมนเทิลซึ่งเป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ยืดหยุ่นได้ (Plastic)
ประกอบไปด้วย เหล็กแมกนีเซียม ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ มีความหนาประมาณ
3,000 กิโลเมตร เปลือกโลกเป็นของแข็ง (Solid) มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเฟลด์สปาร์ และควอตช์ (ซิลิกอนไดออกไซด์)
บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77 % ออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นอาร์กอน
คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
คาร์บอนไดออกไซด์ช่วยในการกักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศโดยอาศัยภาวะเรือนกระจก
ทำให้โลกมีความอบอุ่น ไม่หนาวเย็นจนเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต
อย่างไรก็ตามถ้าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นมากขึ้นก็จะทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน
ซึ่งอาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้
นอกจากนี้โลกยังมีสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของแก่นชั้นนอกซึ่งเป็นเหล็กเหลว
ถึงแม้ว่าสนามแม่เหล็กโลกจะมีความเข้มไม่มาก
แต่ก็ช่วยปกป้องไม่ให้อนุภาคที่มีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (Solar
wind) เดินทางผ่านมาที่ผิวโลกได้
โดยสนามแม่เหล็กจะกักให้อนุภาคเดินทางไปตามเส้นแรงแม่เหล็ก
และเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้เพียงที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เท่านั้น
เมื่ออนุภาคพลังงานสูงปะทะกับโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศ
ทำให้เกิดแสงสีสวยงาม สังเกตเห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เรียกว่า"แสงเหนือแสงใต้"
(Aurora)
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากเหนือขั้วโลกเหนือของโลกและดวงอาทิตย์
มีลักษณะการโคจรเป็นรูปวงรีใช้เวลาในการโคจร 1
รอบ 365.2564 วัน โดยมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 147.1 ล้านกิโลเมตร และระยะไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด 152.1
ล้านกิโลเมตร
โดยแกนหมุนของโลก(ขั้วเหนือ-ใต้)ทำมุมเอียงกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ecliptic
plane) 23.5 องศา
การที่แกนโลกมีความเอียงนี่เองทำให้แต่ละพื้นที่บนโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันในแต่ละวันใน
1 ปี จึงทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ
ขั้วโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์
และเมื่อขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูหนาวขึ้นที่ซีกโลกเหนือ
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 19.6 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย)
6371 กิโลเมตร
มวล 5.9736x1024
kg
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.256 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 23วโมง 56 นาที 4.1 วินาที
จำนวนดาวบริวาร 1
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส
ดวงจันทร์ (The Moon)
ดวงจันทร์ (The Moon) เป็นบริวารดวงเดียวของโลกและมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก
หลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ
ดวงจันทร์เย็นตัวอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างภายในกลายเป็นของแข็งทั้งหมดจึงไม่มีสนามแม่เหล็ก
ดวงจันทร์มีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยจนไม่สามารถดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ การที่ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เลย
ทำให้อุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโดยอิสระไร้แรงเสียดทาน
พื้นผิวของดวงจันทร์จึงปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงและกรวดอุกกาบาต
เมื่อมองดูจากโลกเรามองเห็นพื้นที่สีคล้ำบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย คนสมัยก่อนเข้าใจว่า
บริเวณนั้นเป็นทะเลบนดวงจันทร์ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ
พื้นที่แอ่งสีคล้ำบนดวงจันทร์เกิดขึ้นจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในยุคแรกของระบบสุริยะ
ทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ทะลุจนแมกมาซึ่งอยู่ข้างใต้ไหลขึ้นมาแข็งตัวเป็นหินบะซอลต์ ในยุคหลังๆ อุกกาบาตได้พุ่งชนและหลอมรวมกับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ต่างๆ
ของระบบสุริยะจนหมดแล้ว
เหลือแต่อุกกาบาตขนาดจิ๋วซึ่งยังคงกระหน่ำชนพื้นผิวดวงจันทร์อยู่ตลอดเวลา
ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก
เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ของแรงไทดัลของโลกและดวงจันทร์
ทำให้ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ด้านตรงข้ามที่หันออกจากโลก (Far side of the
Moon) จึงเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่เพราะดวงจันทร์ทำหน้าที่ปกป้องโลกไปในตัว
และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าโลกมากแต่ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลกับโลกมาก
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง สุริยุปราคา
จันทรุปราคา นักวิทยาศาสตร์พบว่า
ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ช้าลงและห่างจากโลกมากขึ้น
นอกจากโลกของเราที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วโลกยังมีดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกอยู่ด้วย
โดยระนาบการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ทำมุมประมาณ 5 องศากับระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
ซึ่งสมมุติว่าระนาบทั้งสองเป็นระนาบเดียวกันแล้วจะทำให้เกิดอุปราคาขึ้นทุก 2 สัปดาห์ สลับกันระหว่างสุริยุปราคาและจันทรุปราคา
นอกจากนี้ดวงจันทร์ยังมีคาบเวลาการโคจรรอบโลก 27.32 วัน
เท่ากันกับคาบเวลาในการโคจรรอบตัวเองของดวงจันทร์ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์จากโลกเพียงด้านเดียวของดวงจันทร์อยู่เสมอ
ข้อมูลสำคัญ
ระยะทางเฉลี่ยจากโลก 384,400 กิโลเมตร
คาบวงโคจรรอบโลก 27.32 วัน
ความรีของวงโคจร 0.054
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 5.145°
แกนเอียง 6.68°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 27.32 ชั่วโมง
รัศมี
1,737 กิโลเมตร
มวล
0.0123 ของโลก
ความหนาแน่น
3.341 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
แรงโน้มถ่วง 0.166 เท่าของโลก
ไม่มีบรรยากาศ และยังไม่ตรวจพบน้ำ
อุณหภูมิ -233°C 123°C
ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก
ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ 1,700 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก
(สนิมเหล็ก)
พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย หุบเหวขนาดใหญ่ชื่อ
หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความยาว 4,000 กิโลเมตร กว้าง 600 กิโลเมตร ลึก 8 กิโลเมตร
นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ
ภูเขาไฟโอลิมปัส (Mount Olympus) สูง 25 กิโลเมตร ฐานที่แผ่ออกไปมีรัศมี 300 กิโลเมตร ดาวอังคารมีบรรยากาศเบาบางมาก
ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง(คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง(Ice
water) ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้แต่งนิยายวิทยาศาสตร์ในหลายสิบปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่มีการสังเกตดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ และพบรูปร่างพื้นผิวที่คล้ายกับคลองส่งน้ำของมนุษย์ดาวอังคาร
แต่หลังจากที่องค์การนาซาได้ส่งยานไปสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เราทราบว่า
ลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงร่องรอยที่เกิดขึ้นในธรรมชาติอย่างไรก็ตามจากการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารโดยยานไวกิงออร์บิเตอร์
1
และยานมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์พบร่องรอยท้องแม่น้ำที่เหือดแห้ง
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเคยมีสิ่งมีชิวิตอยู่บนดาวอังคารมาก่อน
ก็น่าจะมีซากหรือฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นใต้ท้องน้ำหรือใต้น้ำแข็งที่ขั้วทั้งสองของดาวอังคาร
ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบัสและดีมอส
ดวงจันทร์ทั้งสองดวงมีรูปร่างไม่สมมาตร และมีขนาดเล็กกว่า 25 กิโลเมตร
สันนิษฐานว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารดูดจับมาเป็นบริวาร
ภายหลังการก่อตัวของระบบสุริยะ
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
(โดยเฉลี่ย) 227.9
ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 3390 กิโลเมตร (0.533 เท่าของโลก)
มวล
6.4185x1023 kg (0.107 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 24.63
ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 2
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ
-87 ถึง -5
องศาเซลเซียส
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากเป็นอันดับที่
4 รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์
และเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ดาวพฤหัสบดีถูกสำรวจเป็นครั้งแรกโดยยานไพโอเนียร์ 10
ในปี พ.ศ.2516 ติดตามด้วย ไพโอเนียร์ 11, วอยเอเจอร์ 1, วอยเอเจอร์ 2, ยูลิซิส
และกาลิเลโอ
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์แก๊สซึ่งบรรยากาศหนาแน่น
มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน 90% และฮีเลียม 10% ปะปนด้วยมีเทน น้ำ และแอมโมเนียจำนวนเล็กน้อย
ลึกลงไปด้านล่างเป็นแมนเทิลชั้นนอกซึ่งประกอบไปด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว
และแมนเทิลชั้นในที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจนซึ่งมีสมบัติเป็นโลหะ
และแก่นกลางที่เป็นหินแข็งมีขนาดเป็น 2 เท่าของโลก
ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าโลกมาก แต่หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง แรงหนีศูนย์กลางเหวี่ยงให้ดาวมีสัณฐานเป็นทรงแป้น
และทำให้การหมุนเวียนของชั้นบรรยากาศแบ่งเป็นแถบสีสลับกัน
แถบเหล่านี้เป็นเซลล์การพาความร้อน (Convection cell) แถบสีอ่อนคืออากาศร้อนยกตัว
แถบสีเข้มคืออากาศเย็นจมตัวลง นอกจากนั้นยังมีจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) เป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้าง 25,000
กิโลเมตร สามารถบรรจุโลกได้สองดวง จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี
ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ถูกค้นพบแล้วมากถึง
62 ดวง แต่ดวงจันทร์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม
เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางซึ่งถูกแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับมาเป็นบริวารในภายหลัง
ไม่ได้วิวัฒนาการมาพร้อมๆ กับดาวพฤหัสบดี ยกเว้น ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวง ซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ จึงถูกขนานนามว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilean
moons) ซึ่งได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คาลิสโต
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
(โดยเฉลี่ย) 778.3
ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย)
71,492 กิโลเมตร (11.209 เท่าของโลก)
มวล 1.8986x1027
kg (317.8 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 4,331.572 วัน (11.86 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง
9.93 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 63
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ
-110 องศาเซลเซียส
ดาวเสาร์ (Sratun)
ดาวเสาร์(Saturn)เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6
ในระบบสุริยะซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากดาวพฤหัสบดี
โดยเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากที่สุดที่สามารถมองเห็นจากโลกได้ด้วยตาเปล่า
องค์ประกอบหลักของดาวเสาร์จะเป็นแก๊สและของเหลว
ดาวเสาร์มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นสูงกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
กล่าวคือมีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตร (60,268
กิโลเมตร) มากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้ว (54,364
กิโลเมตร) เกือบ 10 เปอร์เซนต์
ทั้งนี้เนื่องมากจากดาวเสาร์มีการหมุนโคจรรอบตัวเองที่เร็วมาก (ประมาณ 10.66
ชั่วโมง)ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงามเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์เนื่องจากจะมองเห็นวงแหวนที่ล้อมรอบดาวเสาร์
โดยวงแหวนของดาวเสาร์นั้นจะประกอบไปด้วยก้อนหินและก้อนน้ำแข็งซึ่งสามารถสะท้อนแสงได้ดี
จึงสามารถสังเกตเห็นวงแหวนได้โดยง่าย
วงแหวนของดาวเสาร์นี้มีความกว้างวัดจากขอบในสุดถึงขอบนอกสุดถึงประมาณ 65,000
กิโลเมตร แต่มีความหนาโดยเฉลี่ยเพียงประมาณ 500 กิโลเมตร วงแหวนดาวเสาร์
ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 10 AU จึงไม่ถูกรบกวนจากลมสุริยะจากดวงอาทิตย์
จึงไม่สูญเสียบรรยากาศชั้นนอกและมีมวลมาก มวลมากย่อมมีแรงโน้มถ่วงมาก
สามารถดูดจับดาวหางที่โคจรผ่านเข้ามา
ดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งจึงเปราะมาก
เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดาวเสาร์ แรงโน้มถ่วงมหาศาลจะทำให้เกิดแรงไทดัลภายในดาวหาง
ด้านที่หันเข้าหาดาวเสาร์จะถูกแรงกระทำมากกว่าด้านอยู่ตรงข้าม
ในที่สุดดาวหางไม่สามารถทนทานต่อแรงเครียดภายใน
จึงแตกเป็นเศษเล็กเศษน้อยสะสมอยู่ในวงโคจรรอบดาวเสาร์และกลายเป็นวงแหวนในที่สุด
ด้วยเหตุนี้วงแหวนของดาวเสาร์จึงประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาลซึ่งมีวงโคจรอิสระ
มีขนาดตั้งแต่เซนติเมตรไปจนหลายร้อยเมตร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็ง
ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก
แม้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 250,000 กิโลเมตร
แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กิโลเมตร
วงแหวนแต่ละชั้นมีชื่อเรียกามอักษรภาษาอังกฤษ เช่น วงแหวนสว่าง (A และ B) และวงสลัว (C) ช่องระหว่างวงแหวน
A และ B เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini
division )
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
แม้ว่าดาวเสาร์จะมีดวงจันทร์บริวารที่ถูกค้นพบแล้วมากถึง
62 ดวง
แต่ดวงจันทร์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางซึ่งถูกแรงโน้มถ่วงของเสาร์จับมาเป็นบริวารในภายหลัง
ไม่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆ กับดาวเสาร์ ยกเว้น ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เช่น ไททัน
มิมาส เอนเซลาดุส เททีส ไดโอเน รีอา
ทั้งนี้ดวงจันทร์แต่ละดวงมีสมบัติพิเศษแตกต่างกันไป ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์บริวารจำนวนมาก
โดยดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือไททัน(Titan) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง
5,150 กิโลเมตร ไททันถูกค้นพบในปีค.ศ. 1655 และไททันยังเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่ตรวจพบชั้นบรรยากาศ
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 1.43 พันล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 60,268 กิโลเมตร (9.4492 เท่าของโลก)
มวล 5.6846x1026 kg (95.152 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 10,832 วัน (29.46 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 10.66 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร
61
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ -140 องศาเซลเซียส
ยูเรนัส (Uranus)
ยูเรนัส (Uranus) ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเลี่ยม เฮอส์เชล ในปีพ.ศ.2534 สองร้อยปีต่อมา ยานวอยเอเจอร์ 2 ทำการสำรวจดาวยูเรนัสในปี พ.ศ. 2529 พบว่า
บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากแก๊สมีเทนดูดกลืนสีแดงและสะท้อนสีน้ำเงิน
บรรยากาศมีลมพัดแรงมาก ลึกลงไปที่แก่นของดาวห่อหุ้มด้วยโลหะไฮโดรเจนเหลว ขณะที่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีแกนหมุนรอบตัวเองเกือบตั้งฉากกับระนาบสุริยวิถีแต่แกนของดาวยูเรนัสวางตัวเกือบขนานกับสุริยวิถีดังนั้นอุณหภูมิบริเวณขั้วดาวจึงสูงกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร
ดาวยูเรนัสมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงอื่นๆ วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความสว่างไม่มาก
เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก มีขนาดตั้งแต่ฝุ่นผงจนถึง 10 เมตร
ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 27 ดวง
ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมได้แก่ มิรันดา แอเรียล อัมเบรียล ไททาเนีย และ โอเบรอน
ในปีค.ศ.1986 เมื่อยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2
โคจรผ่านดาวยูเรนัสได้ถ่ายภาพดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารส่งกลับมายังโลกเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตามวงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมากเมื่อเทียบกับวงแหวนของดาวเสาร์
เราจึงสังเกตุเห็นวงแหวนของดาวยูเรนัสได้ยาก โดยวงแหวนที่สว่างที่สุดคือวงแหวน ε
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 2.87 พันล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย)
25,559 กิโลเมตร (4.007
เท่าของโลก)
มวล
8.681x1025 kg (14.536 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 30,799
วัน (84.3 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 17.24 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร
27
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ
-214 องศาเซลเซียส
ดาวเนปจูน (Neptune)
เนปจูน (Neptune)ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส คือ
มีบรรยากาศเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม และมีมีเทนเจือปนอยู่จึงมีสีน้ำเงิน
ดาวเนปจูนมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัสเล็กน้อย แต่มีความหนาแน่นมากกว่า
โดยที่แก่นของดาวเนปจูนเป็นของแข็งมีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเรา ในช่วงเวลาที่ยานวอยเอเจอร์ 2 เข้าใกล้ดาวเนปจูนได้ถ่ายภาพ จุดมืดใหญ่ (Great dark spot) ทางซีกใต้ของดาวมีขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี
(ประมาณเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก)
จุดมืดใหญ่นี้เป็นพายุหมุนเช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี มีกระแสลมพัดแรงที่สุดในระบบสุริยะ
ความเร็วลม 300 เมตร/วินาที หรือ 1,080
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง แต่ละวงมีความสว่างไม่มากนัก
เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 13 ดวง ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดชื่อ "ทายตัน" (Triton) ทายตันเคลื่อนที่ในวงโคจรโดยมีทิศทางสวนกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน
ซึ่งอาจเป็นเพราะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูนจับเป็นบริวารภายหลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ
และจะพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (อาจใช้เวลาเกือบ 100
ล้านปี)
ข้อมูลสำคัญ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 4.5 พันล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย)
24766 กิโลเมตร (3.883 เท่าของโลก)
มวล 1.0243x1026
kg (17.147 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 60190 วัน (164.79 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 16.11 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 13
สัญลักษณ์
อุณหภูมิ -200 องศาเซลเซียส
ดาวเคราะห์แคระ(Dwarf Planet)
ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) หมายถึง
เทห์วัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน
1 โคจรรอบดวงอาทิตย์
2
มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว
ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก (hydrostatic equilibrium) เช่น ทรงกลม
หรือเกือบกลม
3
ไม่สามารถกวาดวัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้
4
ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์
ดาวพลูโตถูกลดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ
เนื่องจากมีวงโคจรเป็นรูปวงรีบางส่วน ซ้อนทับวงโคจรของดาวเนปจูน ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดคือดาวซีรีสถูกยกระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ
เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีรูปร่างทรงกลมดังภาพที่ 2
ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid )
หลังจากที่มีการค้นพบยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่
7 ของระบบสุริยะ ก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเล็กชื่อ
"ซีรีส" (Ceres) ในปีพ.ศ.2344
และต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์แบบนี้อีก 4 ดวงคือ พัลลาส จูโน เวสตา แอสเตรีย
จนกระทั่งได้มีการค้นพบดาวเนปจูนในปี พ.ศ.2389
จึงปรับลดสถานะของดาวเคราะห์ขนาดเล็กทั้งห้าดวงเรียกว่า
"ดาวเคราะห์น้อย" (Minor planets) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากบริเวณระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
และเมื่อนักดาราศาสตร์ทราบว่า
ดาวเคราะห์น้อยเป็นเพียงวัสดุที่พยายามจะรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์แต่ไม่สำเร็จจึงเรียกพวกมันว่า
"Asteroids" (ภาษาไทยยังคงเรียกว่าดาวเคราะห์น้อยเหมือนเดิม)
และเรียกบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่โคจรอยู่ว่า แถบดาวเคราะห์น้อย
(Asteroid belt)
ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีรูปทรงไม่สมมาตรไม่เป็นทรงกลม มีขนาดตั้งแต่ 1 - 1,000 กิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยไม่สามารถเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสสารที่เป็นเนื้อดาว
จึงไม่มีรูปร่างเป็นทรงกลม (ยกเว้นดาวซีรีสซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงจะยุบดาวให้เป็นทรงกลม
จึงถูกยกสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ) ดาวเคราะห์น้อยเปรียบเสมือนฟอสซิลของระบบสุริยะ
เพราะว่าพวกมันคือวัสดุที่พยายามจะรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีวงโคจรอยู่ใกล้เคียง
สภาพของมันจึงไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้นมาดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีวงโคจรที่ไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี
และอยู่ห่างจากโลกไม่เกิน 195 ล้านกิโลเมตร
พวกมันมีโอกาสที่จะโคจรมาชนลกได้
นักดาราศาสตร์จึงจำเป็นต้องติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลกซึ่งเรียกว่า
"นีโอ" (NEO: Near Earth Objects)
ข้อมูลสำคัญ
ข้อมูล เอรอส แกสปรา เวสตา ซีรีส ไอดา
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (AU) 1.46 2.21 2.36 2.77 2.86
คาบวงโคจร (ปี) 1.76 3.29 3.63 4.60 4.84
ความรีของวงโคจร 0.22 0.17 0.09 0.08 0.05
ความเอียงของวงโคจร (องศา) 10.83 4.10 7.13 10.58 1.14
คาบการหมุนรอบตัวเอง (ชั่วโมง:นาที) 5:16 7:02 5:20 9:04 4:38
ขนาด (กิโลเมตร) 21x7x7 12x7x7 359x348x285 597x579
37x15x12
ดาวหาง (Comet)
ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุจำพวกน้ำแข็งซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากขอบของระบบสุริยะ
นักดาราศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ดาวหางมีกำเนิดมาจากเมฆออร์ท (Oort's cloud) ซึ่งเป็นผลึกน้ำแข็งอยู่ที่ขอบของระบบสุริยะ เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ เช่น
ซูเปอร์โนวา (Supernova) หรือดาวฤกษ์ระเบิด ดาวหางจะหลุดออกจากถิ่นกำเนิดและถูกแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ดึงดูดมาเป็นบริวาร
วงโคจรของดาวหางจึงยาวไกลและมีความรีมาก ไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี
เนื่องจากเมฆออร์ทมีลักษณะเป็นทรงกลมที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์
ดาวหางจึงเคลื่อนที่เข้าดวงอาทิตย์ได้จากทุกทิศทาง
ดาวหางเป็นวัตถุขนาดเล็กของระบบสุริยะ นิวเคลียสของดาวหางมีขนาดประมาณ 1 - 10 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำแข็งปะปนกับเศษหินและสสารอื่นๆ
ซึ่งดาวหางกวาดชนขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
เราจีงเปรียบดาวหางเป็นก้อนน้ำแข็งสกปรก อย่างไรก็ตาม ดาวหางอาจเป็นพาหะนำเชื้อชีวิตจากดาวดวงหนึ่งไปสู่ดาวอีกดวงหนึ่ง ดาวหางเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย ดาวหางทำให้โลกมีน้ำในมหาสมุทรและนำสิ่งมีชีวิตมาสู่บนโลก
แต่ดาวหางก็เคยพุ่งชนโลกจนทำให้สิ่งมีชีิวิตบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วหลายรอบ
(รอบละประมาณหนึ่งร้อยล้านปี) ครั้งล่าสุดคือ ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว เมื่อดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์จะเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งที่ไม่มีหางเรียกว่า
"นิวเคลียส" (Nucleus) ประกอบไปด้วยน้ำแข็ง
คาร์บอน ไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย โดยมีเปลือกแข็งห่อหุ้มอยู่ เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์น้ำแข็งเหล่านี้จะระเหิดเป็นแก๊สด้านที่หันเข้าหาแสงอาทิตย์จะมีแก๊สประทุลอยออกมาห่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า "โคมา" (Coma) ซึ่งมีอาจขนาดหลายร้อยหลายพันกิโลเมตร
ลมสุริยะหรืออนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ปะทะโคมาให้ปลิวไปยังด้านหลังกลายเป็น
"หาง" (Tail) ยาวนับล้านกิโลเมตร หางของดาวหางมี
2 ชนิดคือ หางแก๊สและหางฝุ่น "หางแก๊ส" (Ion tail) มีลักษะเป็นเส้นตรงชี้ไปทางทิศตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ มีสีฟ้าเกิดจากแก๊สของดาวหางได้รับพลังงานดวงอาทิตย์แล้วคายประจุออกมา "หางฝุ่น" (Dust tail) เกิดจากมวลของดาวหางที่พ่นออกมาจากนิวเคลียส
มวลเหล่านี้มีโมเมนตัมจึงเคลื่อนที่โค้งไปตามทิศทางที่ดาวหางโคจร เมื่อดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์ก็จะสูญเสียมวลไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งหมดดวง ดาวหางจึงมีอายุไม่ยืน
อุกกาบาต(Meteorite)
วัตถุจำพวกดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กิโลเมตร เรียกว่า "สะเก็ดดาว" (Meteoroids)
เมื่อสะเก็ดดาวตกลงสู่โลกและเสียดสีกับบรรยากาศจนเกิดความร้อนและลุกติดไฟ
มองเห็นเป็นทางยาวในเวลากลางคืนเรียกว่า "ดาวตก" หรือ "ผีพุ่งใต้" (Meteor หรือ Shooting star)
ดาวตกที่มองเห็นส่วนมากมีขนาดประมาณเม็ดทราย แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ
40 - 70 กิโลเมตร/วินาที
จึงเสียดสีกับอากาศจนร้อนมากจนเผาไหม้หมดก่อนที่จะตกถึงพื้นผิวโลก
อย่างไรก็ตามถ้าสะเก็ดดาวขนาดใหญ่ตกลงมาก็จะเผาไหม้ไม่หมด
เหลือชิ้นส่วนตกค้างบนพื้นผิวโลกซึ่งเรียกว่า "อุกกาบาต" (Meteorite)
และหลุมที่เกิดจากการพุ่งชนเรียกว่า กลุ่มอุกกาบาต"
(Meteor
crator)
ฝนดาวตก (Meteor shower)
ฝนดาวตก (Meteor shower) หมายถึงปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่มีดาวตกจำนวนมากตกมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน
ฝนดาวตกส่วนมากเกิดขึ้นจากฝุ่นของดาวหาง (ยกเว้นฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยเฟธอน
3200) เมื่อดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์
มันจะปล่อยอนุภาคออกมาเป็นทางยาวทิ้งไว้เป็นทางยาวในวงโคจร เรียกว่า "ธารอุกกาบาต"
(Meteor stream) ดังภาพที่ 1 ดาวหางที่มีขนาดใหญ่และกำลังคุกรุ่นจะทำให้เกิดธารอุกกาบาตขนาดใหญ่ซึ่งมีอนุภาคจำนวนมาก
ดาวหางที่มีขนาดเล็กและเก่าแก่จะมีธารอุกกาบาตขนาดเล็กและมีอนุภาคจำนวนน้อย
ดาวหางบางดวง เช่น ดาวหางฮัลเลย์มีวงโคจรตัดกับวงโคจรของโลก
ถ้าดาวหางผ่านมาพร้อมกับที่โลกโคจรเข้าไปพอไป
ดาวหางจะชนโลกทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกเหมือนดังเมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว
เนื่องจากฝุ่นและแก๊สที่เกิดจากการระเบิดจะปกคลุมพื้นผิวของโลกนานหลายเดือนจนพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ทำให้ห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศถูกทำลาย
ถ้าหากโลกโคจรผ่านเข้าไปในธารอุกกาบาตขณะที่ดาวหางเพิ่งจะผ่านไปจะทำให้เกิดฝนดาวตกจำนวนมาก
แต่ถ้าหากดาวหางโคจรผ่านไปนานแล้วก่อนที่โลกจะโคจรเข้าไป
ฝนดาวตกก็จะมีจำนวนน้อยธารอุกกาบาตและวงโคจรโลก